วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ปีที่: 1 ฉบับที่ 1

มกราคม – มิถุนายน 2566

ดาวน์โหลด

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อจำลองการเคลื่อนที่ของวัตถุมีมวลที่กำลังตกอิสระในบริเวณภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำแบบชวาทซ์ชิลท์ โดยเริ่มจากการนำผลเฉลยของชวาทซ์ชิลท์มาคำนวณด้วยสมการออยเลอร์-ลากรองจ์เพื่อหาสมการการเคลื่อนที่ส่วนของรัศมีและส่วนของมุมสำหรับวัตถุมีมวลกำลังเคลื่อนที่แบบตกอิสระบนระนาบ จากนั้นทำการจัดรูปสมการให้เป็นรูปแบบไร้หน่วย แล้วนำมาแก้ด้วยวิธีเชิงตัวเลขโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แสดงผลในแบบการวาดกราฟและการจำลองเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุที่กำลังตก สามารถกำหนดตำแหน่งเริ่มต้นและความเร็วต้นได้ ผลการจำลองพบว่ามีการเคลื่อนที่เป็นไปได้สี่รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่จำลองวัตถุตกเข้าหาขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำ แต่วัตถุจะเคลื่อนที่ช้าลงจนเกือบจะหยุดนิ่งเมื่อวัตถุเคลื่อนที่เข้าใกล้ขอบฟ้าเหตุการณ์ นี่หมายความว่าวัตถุอาจไม่สามารถผ่านทะลุเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ รูปแบบที่สองคือวงโคจรวงกลม รูปแบบที่สามคือการโคจรแบบวงรีที่มีปรากฏการณ์การควงของวงโคจร และ รูปแบบสุดท้ายคือกรณีวัตถุถูกดีดให้เคลื่อนที่ออกไปไกลจนถึงระยะอนันต์

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของดินเหนียวบ้านเชียงที่เติมหินปูนธรรมชาติ ในอัตราส่วนผสม 0%, 2%, 4%, 6%, 8%, 10%, 12%, 14%, 16%, 18% และ 20% โดยน้ำหนัก และผ่านการเผาผนึกที่อุณหภูมิ 1,100 oC, 1,150 oC และ 1,200 oC นาน 4 ชั่วโมง จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีด้วยเทคนิค XRF พบว่าดินเหนียวบ้านเชียง มีองค์ประกอบหลักคือ SiO2 และ Al2O3 ในขณะที่ปูนขาวมีองค์ประกอบหลักคือ CaO จากการศึกษาหมู่ฟังก์ชัน พบว่าในดินเหนียวบ้านเชียงพบหมู่ฟังก์ชันของ Si-O-Si, Al-O-H, Si-O และ Si-O-Al แต่ในปูนขาวจะพบหมู่ฟังก์ชันของ Ca-O, Si-O และ Si-O-Al สำหรับอัตราส่วนผสมตั้งแต่ 8% โดยน้ำหนัก จะเริ่มสังเกตเห็นหมู่ฟังก์ชัน Ca-O และจากการศึกษาโครงสร้างผลึกด้วยเทคนิค XRD พบว่า ที่อุณหภูมิ 1,100 oC นาน 4 ชั่วโมง เมื่อส่วนผสมหินปูนธรรมชาติเพิ่มขึ้นจะพบเฟสของแร่ไดออปไซด์ แร่แคลไซต์ และ แร่อะนอร์ไทต์มากขึ้น The purpose of this research is to study the effect of addition limestone on physical properties of ceramic from Ban Chiang clay. The mixing ratios of limestone are 0%, 2%, 4%, 6%, 8%, 10%, 12%, 14%, 16%, 18% and 20% by weight and sintered at 1,100 oC, 1,150 oC and 1200 oC for 4 hours. The chemical composition is study by XRF technique. The results indicate the content of element dominate the Ban Chiang clay is SiO2 and Al2O3, while the limestone is CaO. The functional group of Ban Chiang clay is Si-O, Al-O-H, Si-O and Si-O-Al, the limestone is Ca-O, Si-O and Si-O-Al which are determined by FTIR technique. The Ca-O group is observed for the limestone ratio more than 8% by weight. From XRD result, the increasing of limestone content will contain more diopside, calcite and anorthite phases for the ceramic sintered at 1,100 oC for 4 hours.

การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้ง ความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะของการอบแห้ง และผลการย้อมสีครามผง ดำเนินการศึกษาโดยนำครามเปียกที่มีความชื้นเริ่มต้น 176 %db.มาอบด้วยเครื่องอบแห้งสุญญากาศร่วมรังสีอินฟราเรด ที่อุณหภูมิ 40 50 และ 60 C และความดันสุญญากาศ 5 10 และ 15 kPa อบจนกระทั่งครามมีความชื้นสุดท้าย 6 %db. หลังจากนั้นจะนำครามผงที่ได้ไปย้อมด้ายดิบและวัดสี ซึ่งผลการทดลอง พบว่า ค่าความชื้น อัตราส่วนความชื้นของครามที่อบแห้งที่อุณหภูมิและความดันต่างกันจะลดลงตามระยะเวลาในการอบแห้ง ส่วนอัตราการอบแห้งมีค่าสูงขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะมีค่าสูงที่สุดเมื่ออบที่อุณหภูมิ 40 C ความดัน 15 และ 10 kPa และด้ายที่ย้อมด้วยครามผงที่อบที่อุณหภูมิสูงจะมีค่าความสว่าง ค่าสีเขียว มากที่สุด ส่วนด้ายที่ย้อมด้วยครามผงที่อบที่อุณหภูมิต่ำ จะมีค่าสีน้ำเงินและค่าความแตกต่างของสีมากที่สุด The purpose of this study was to study drying kinetics, the consumption of specific energy and the effect of dyeing indigo powder. The study was conducted by using wet indigo with initial moisture content of 176 %db., drying with infrared radiation combined vacuum dryer at 40, 50 and 60 C and vacuum pressure of 5, 10 and 15 kPa, until the indigo had final moisture content of 6%. db. The results showed that the moisture content, moisture ratio of indigo dried at different temperatures and pressures was decreased with drying time, the drying rate was increased with increasing temperature. Specific energy consumption was highest when drying at 40 C, 15 and 10 kPa pressure. The yarn dyed with powdered indigo that is baked at high temperature has the highest brightness, green value, but was dried at a low temperature had the greatest bluishness and color difference.

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของการฝึกจินตภาพควบคู่กับการฟังดนตรีอีสานที่มีต่อความแม่นยำในการยิงประตูเขตจุดโทษกีฬาคอร์ฟบอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่มีสุขภาพดีจำนวน 30 คน อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 19-22 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ทำการฝึกจินตภาพและยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬา คอร์ฟบอล และกลุ่มที่ 2 ทำการฝึกจินตภาพควบคู่กับการฟังดนตรีอีสานและยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬาคอร์ฟบอล โดยทดสอบความแม่นยำในการยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬาคอร์ฟบอล วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์การทดสอบแบบ Independent T-test วิเคราะห์ความแปรปรวนรูปแบบการทดลองแบบวัดซ้ำมิติเดียว One Way ANOVA Repeated Measure และตรวจสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้การทดสอบแบบเชฟเฟ่ ของคะแนนการทดสอบความแม่นยำในการยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬาคอร์ฟบอล ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดสอบระหว่างกลุ่มการฝึกจินตภาพและยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬาคอร์ฟบอลกับกลุ่มการจินตภาพควบกับคู่กับการฟังดนตรีอีสานและยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬาคอร์ฟบอลมีค่าเฉลี่ยของความแม่นยำในการยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬาคอร์ฟบอลไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 และภายในกลุ่มการฝึกจินตภาพและยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬาคอร์ฟบอลกับกลุ่มการจินตภาพควบกับคู่กับการฟังดนตรีอีสานและยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬาคอร์ฟบอลมีค่าเฉลี่ยของความแม่นยำในการยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬาคอร์ฟบอลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ดังนั้นสามารถสรุปผลการวิจัยได้ว่าการฝึกจินตภาพเป็นทักษะทางจิตวิทยาทางกีฬาที่ช่วยพัฒนาความสามารถและทักษะความแม่นยำในการยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬาคอร์ฟบอล และมากไปกว่านั้นการฝึกจินตภาพควบคู่กับฟังดนตรีอีสานส่งผลให้มีความแม่นยำในการยิงประตูเขตจุดโทษในกีฬาคอร์ฟบอลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีในการจำแนกข้อมูลเพื่อวินิจฉัยความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานและเปรียบเทียบประสิทธิภาพฟังก์ชั่นการเปิดใช้งานในการเรียนรู้เชิงลึกแบบย้อนกลับ โดยข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบเป็นข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุงจำนวน 31,899 ชุดข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้ฟังก์ชั่นการเปิดใช้งานสำหรับโครงข่ายประสาทเทียม ประกอบด้วย วิธี ReLU, วิธี Sigmoid, วิธี SoftMax, วิธี TanH, วิธี GELU, วิธี ELU, และวิธี Leaky ReLU จำแนกข้อมูลด้วยวิธี Deep Learning Feed Forward, วิธี Deep Learning Backpropagation, วิธี Neural Network, วิธี Multilayer Perceptron และวิธี Random Forest วัดประสิทธิภาพด้วยวิธี Cross Validation จากการทดสอบความถูกต้องในการจำแนกข้อมูล ผลการเปรียบเทียบพบว่าวิธี Deep Learning Backpropagation และฟังก์ชั่นการเปิดใช้งานด้วยวิธี SoftMax ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าวิธีอื่นที่ใช้ทดสอบร่วมกัน โดยได้ค่าความถูกต้องเท่ากับ 95.71% นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการเพิ่มค่าน้ำหนักของโมเดลโดยใช้ Gradient Descent ทำให้ค่าน้ำหนักในโมเดลได้ค่า Cost Function ลดต่ำลงไปที่จุดต่ำสุด ทำให้โมเดลจำแนกได้ดีขึ้น เหมาะสมที่จะนำโมเดลดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาระบบวินิจฉัยการเป็นโรคเบาหวานและเป็นแนวทางในการสนับสนุนการตัดสินใจทางการแพทย์ในอนาคต

การศึกษาการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคจากกัญชาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดสารสกัดหยาบด้วยเอทานอล 95% จากส่วนของราก ลำต้น และใบของต้นกัญชาไทย และศึกษาการยับยั้งต่อเชื้อ Staphylococcus aureus , Bacillus cereus และ Escherichia coli ด้วยวิธี Agar Well Diffusion จากการศึกษาพบว่า สารสกัดหยาบที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ดีที่สุด คือ สารสกัดจากลำต้น ความเข้มข้น 1 mg/ml สารสกัดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย B. cereus ได้ดีที่สุด คือ สารสกัดจากใบ ความเข้มข้น 1 mg/ml สารสกัดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย E. coli ได้ดีที่สุด คือ สารสกัดจากใบ ความเข้มข้น 1 mg/ml ดังนั้นจากประสิทธิภาพด้านการต้านแบคทีเรียได้ จึงควรมีการศึกษาการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคอื่นและประเมินทางเภสัชวิทยาของกัญชาไทยต่อไป

The concept of Green’s relations plays an important role in semigroup theory. The set of all generalized hypersubstitutions of type $\tau =(n_i)_{i\in I$ forms a monoid. In this paper, we consider the type $\tau =(n)$ for $n>1$ and the submonoid $Reg_G(n)$ of all regular generalized hypersubstitutions of type $\tau =(n)$. We characterize Green’s relations on $Reg_G(n)$.

Teak (Tectona grandis), tamarind (Tamarindus indica), and eucalyptus (Eucalyptus globulus) are appreciated quality trees in Thailand due to their economic value and wide array of applications. In this work, the leaves of three plants were extracted and purified by the solvent partitioning method. The dye-sensitized solar cell devices were fabricated using dyes as sensitizers with various concentrations from 0.5 % w/v to 1.0 %w/v and mixed between 1.0 % w/v of teak dye and N719 dye. The performance of the DSSCs was investigated by evaluated from the results of the current-voltage (J-V) characteristics curve, short-circuit current density (Jsc), open-circuit voltage (Voc), fill factor (ff), and power conversion efficiency (PCE). The results revealed dye from teak presents the best performance of the cell with Jsc, Voc, ff, and PCE values of 0.570 mA/cm2, 0.516 V, 0.683, and 0.201 %, respectively. The suitable concentration for device fabrication is 1 %w/v. It concludes that the concentration of dye effect the performance of DSSCs.